บำบัดน้ำเสีย
การบำบัดน้ำเสีย ถือเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมครับ
เพราะต้องมีการบำบัดน้ำเสียให้มีคุณภาพดีมากขึ้น ก่อนจะปล่อยน้ำเหล่านั้นสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ โดยไม่ต้องกลัวว่าจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจุบันนี้การกำจัดน้ำเสียมีอยู่หลายวิธีการ ทำให้ต้องเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมกับปัญหาหรือสภาพน้ำเสีย เพื่อประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียสูงสุด
ในบทความนี้ Mittwater จะพาไปรู้จักว่าการบำบัดน้ำเสีย ว่าคืออะไร ? มีวิธีการบำบัดน้ำเสียง่าย ๆ ทั้งหมดกี่แบบ ? กี่ขั้นตอน ? สามารถทำเองได้หรือไม่ ? ราคาเท่าไหร่ ? เราสรุปมาให้ในบทความนี้ครับ
การบำบัดน้ำเสีย คืออะไร ?
การบำบัดน้ำเสีย คือ กระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำเสียให้ดีมากขึ้น ช่วยกำจัดสิ่งปนเปื้อนในน้ำเสียให้หมดไป หรือลดน้อยลงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ที่นิยมทำ คือ การทำระบบบำบัดน้ำเสีย
ทำให้น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดอันตรายน้อยลง เมื่อปล่อยน้ำทิ้งสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ จะไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม หรือเกิดปัญหาต่อแหล่งรับน้ำเสียตามมาในภายหลังครับ
การบําบัดน้ําเสียแบบธรรมชาติ คืออะไร ?
การบำบัดน้ำเสียแบบธรรมชาติ คือ กระบวนการบำบัดน้ำรูปแบบหนึ่ง ที่ใช้ปัจจัยจากธรรมชาติเข้ามาเป็นตัวช่วย ในการบำบัดน้ำเสียให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น
โดยมีหลัก ๆ อยู่ 3 ระบบ คือ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบสระเติมอากาศ (Aerated Lagoon : AL) ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียรหรือบ่อผึ่ง (Stabilization Pond : SP) และระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์ (Constructed Wetland : WL)

การบำบัดน้ำ มีทั้งหมดกี่แบบ ?
การบำบัดน้ำเสียมีด้วยกัน 3 แบบ ดังนี้ครับ
บำบัดน้ำเสียวิธีทางกายภาพ (Physical Wastewater Treatment)
การบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีทางกายภาพ คือ วิธีการแยกเอาสิ่งปนเปื้อนออกจากน้ำเสีย เช่น กระดาษ พลาสติก เศษอาหาร ทราย กรวด ไขมัน น้ำมัน หรือของแข็งขนาดใหญ่
โดยจะใช้ตะแกรงดักขยะ ถังดักกรวดทราย ถังดักไขมันและน้ำมัน และถังตกตะกอน เป็นอุปกรณ์แยกสิ่งเจือปนต่าง ๆ ออกจากน้ำเสีย
ซึ่งการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีทางกายภาพนั้น เป็นการบำบัดน้ำเสียในขั้นแรก ก่อนที่น้ำเสียจะถูกส่งไปบำบัดในขั้นตอนต่อไปครับ

บำบัดน้ำเสียวิธีทางเคมี (Chemical Wastewater Treatment)
การบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีทางเคมี คือ กระบวนการบำบัดน้ำเสียทางเคมีเพื่อทำปฏิกิริยากับสิ่งเจือปนในน้ำเสีย อาจใช้สำหรับน้ำเสียที่มีส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น มีค่า PH สูงหรือต่ำเกินไป มีสารพิษ โลหะหนัก มีไขมันและน้ำมัน สารแขวนลอยที่ตกตะกอนยาก มีไนโตรเจนสูงเกินไป รวมถึงเชื้อโรค
ซึ่งโดยทั่วไปแล้วสารแขวนลอยในน้ำเสียจะเป็นประจุลบ การเติมสารเคมีจึงเป็นประจุบวก ที่ทำให้น้ำเสียมีค่า PH เป็นกลาง
และการบำบัดน้ำด้วยวิธีทางเคมีนั้นมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงครับ แต่ประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียก็สูงตามไปด้วยเช่นกัน ดังนั้นเราจะเลือกใช้วิธีการนี้ก็ต่อเมื่อไม่สามารถบำบัดน้ำเสีย ด้วยกระบวนการทางชีวภาพและกายภาพได้ครับ
วิธีทางชีวภาพ (Biological Wastewater Treatment)
การบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีทางชีวภาพ คือ การบำบัดน้ำเสียที่ใช้สิ่งมีชีวิต เป็นตัวช่วยในการเปลี่ยนสภาพของน้ำเสีย ให้อยู่ในสภาพที่ไม่ก่อปัญหามลพิษต่อแหล่งน้ำ
ซึ่งมีระบบบำบัดน้ำเสียที่อาศัยหลักการทางชีวภาพอยู่จำนวนมาก ได้แก่ ระบบกรองไร้อากาศ ระบบยูเอเอสบี ระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย ระบบโปรยกรอง ระบบบ่อเติมอากาศ ระบบคลองวนเวียน ระบบแผ่นจานหมุนชีวภาพ และระบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์

ขั้นตอนบำบัดน้ำเสีย มีกี่ขั้นตอน ?
1. การบำบัดขั้นต้น (Primary Treatment)
การบำบัดน้ำเสียขั้นต้น เป็นการบำบัดน้ำเสียเพื่อแยกทราย กรวด และของแข็งขนาดใหญ่ออกจากน้ำเสีย
โดยใช้เครื่องจักรที่ประกอบด้วย ตะแกรงหยาบ ตะแกรงละเอียด ถังดังกรวดทราย ถังตกตะกอน และเครื่องกำจัดไขฝ้า ซึ่งสามารถกำจัดของแข็งที่แขวนลอยอยู่ในน้ำเสียได้มากถึง 50-70%

2. การบำบัดขั้นรอง (Secondary Treatment)
การจัดการน้ำเสีย ด้วยการบำบัดขั้นรองหรือขั้นที่สอง เป็นการบำบัดทางชีวภาพ ที่อาศัยการเลี้ยงจุลินทรีย์ในระบบที่สามารถควบคุมได้
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกินสารอินทรีย์ที่รวดเร็ว และทำการแยกตะกอนจุลินทรีย์ออกจากน้ำเสียด้วยถังตกตะกอน จากนั้นจะนำไปฆ่าเชื้อโรคก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ
3. การบำบัดขั้นสูง (Advance Treatment)
การบำบัดน้ำเสียขั้นสูง เป็นกระบวนในการกำจัดสารอาหาร ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส เช่น สี สารแขวนลอยที่ตกตะกอนได้ยาก ที่ยังไม่ได้ถูกกำจัดออกจากน้ำเสียในการบำบัดขั้นรองครับ
ซึ่งการบำบัดขั้นสูงสามารถปรับคุณภาพของน้ำให้ดีมากขึ้น เพียงพอที่จะนำกลับมาใช้งานซ้ำ และการบำบัดขั้นสูงยังสามารถป้องกันการเติบโตที่ผิดปกติของสาหร่าย ที่เป็นสาเหตุทำให้น้ำเกิดการเน่าเสียได้ดีมาก ๆ ด้วย

การจัดการน้ำเสีย ควรทำด้วยตัวเองไหม ?
สำหรับการจัดการน้ำเสีย เราไม่แนะนำให้ทำด้วยตัวเองครับ
เนื่องจากน้ำเสียสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ จึงต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านระบบน้ำเสีย ประเมินว่าควรบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการแบบไหน เพื่อประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียสูงสุด
หากไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน ลองให้หาบริษัทออกแบบพร้อมติดตั้งระบบน้ำเสียให้เป็นผู้ดูแลจะดีที่สุดครับ
วิธีบําบัดน้ําเสีย ที่ดีที่สุด ควรทำยังไง ?
สำหรับวิธีบำบัดน้ำเสียง่าย ๆ ที่ดีที่สุด ก็คือ การทำระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย
ซึ่งก่อนทำการบำบัดน้ำเสียคุณควรติดต่อผู้เชี่ยวชาญ ให้เข้ามาประเมินสภาพน้ำเสียก่อน ว่าควรบำบัดแก้น้ำเสียด้วยวิธีการแบบไหน ที่เหมาะสมกับสภาพน้ำมากที่สุดครับ
หลังจากบำบัดน้ำเสียในบ่อเสร็จแล้ว จะได้สามารถปล่อยน้ำออกสู่แหล่งน้ำธรรมชาติได้ แบบไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามมาในภายหลัง
ตัวอย่างการบำบัดน้ำเสีย ด้วยการทำระบบแบบต่าง ๆ




การบำบัดน้ำเสีย ราคาเท่าไหร่ ? แพงไหม ?
การบำบัดน้ำเสีย ราคาเท่าไหร่ ? เชื่อว่าเป็นเรื่องที่หลายคนสงสัยครับ
ซึ่งต้องบอกเลยว่าราคาของการทำระบบบำบัดน้ำเสีย นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น รูปแบบระบบบำบัดน้ำเสียที่ต้องการ กำลังการผลิต คุณภาพน้ำเสียเดิม ฯลฯ ทำให้ราคาบำบัดน้ำเสียแตกต่างกันออกไป
แต่หากต้องการทราบราคาการบำบัดน้ำเสียที่แน่นอน จำเป็นต้องติดต่อบริษัทรับบำบัดน้ำเสีย เพื่อประเมินคุณภาพน้ำที่หน้างานก่อน จึงจะสามารถคำนวณราคาได้ครับ
สรุปเรื่องการบำบัดน้ำเสีย
จะเห็นได้ว่าการบำบัดน้ำเสียในปัจจุบันนี้ สามารถทำได้ทั้งหมดด้วยกัน 3 แบบ คือ การบำบัดทางเคมี ชีวภาพและกายภาพ ซึ่งการบำบัดน้ำเสียแต่ละแบบนั้น เหมาะสำหรับสภาพน้ำเสียที่แตกต่างกัน ทำให้ต้องเลือกใช้วิธีการบำบัดน้ำเสีย ที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาของน้ำ เพื่อประสิทธิภาพในการบำบัดสูงสุด
————————
ติดต่อ Mittwater ได้ที่นี่
โทร : 086-080-6629 (คุณธัชชัย)
Line : @mitrwater
ติดต่อช่องทางอื่นๆ : www.mittwater.com/contact